ประวัติความเป็นมา


ประวัติความเป็นมาของขนมเบื้องญวน (บั๊ญแส่ว) และ ขนมเบื้องไทย







บั๊ญแส่ว (เวียดนาม: bánh xèo) หรือที่เรียกกันในประเทศไทยว่า ขนมเบื้องญวน เป็นอาหารเวียดนามลักษณะคล้ายแพนเค้กที่ทำจากแป้งข้าวเจ้า น้ำ และผงขมิ้นหรือกะทิ (ในพื้นที่ภาคใต้) ยัดไส้ด้วยมันหมู กุ้ง และถั่วงอกแล้วนำมาทอดในกระทะ ตามธรรมเนียม บั๊ญแส่วจะห่อด้วยใบมัสตาร์ด ใบผักกาด หอม และยัดด้วยใบสะระแหน่ ใบโหระพา หรือสมุนไพรอื่น ๆ แล้วจิ้มด้วยเนื้อกเจิ๊ม (น้ำปลาของเวียดนามที่มีส่วนผสมของน้ำและมะนาว) ในภาคกลางจะรับประทานบั๊ญแส่วกับซอสเตือง ซึ่งประกอบด้วยตับ ซอสฮอยซิน และกระเทียม บั๊ญแส่วในภาคใต้จะมีขนาดใหญ่เมื่อเปรียบเทียบกับพื้นที่ในภาคกลาง บั๊ญแส่วในภาคใต้จะมีชื่อเรียก ว่า "บั๊ญคว้าย" (bánh khoái) หรือไข่เจียวยัดไส้ ซึ่งทุกวันนี้ได้เป็นหนึ่งในอาหารที่คนรู้จักกันดีจากภาคกลาง ทำด้วยแป้งข้าวเจ้าและเพิ่มรสชาติด้วยกับผงขมิ้นแล้วนำไปทอดในกระทะจนกรอบ บั๊ญคว้ายจะยัดไส้ด้วยหมูสับ ไข่ กุ้ง ถั่วงอก ถั่วเขียวบดแล้วก็พับ เวลาจะรับประทานให้ใช้ตะเกียบแยกเป็นชิ้น ๆ และนำมาห่อด้วยผักสมุนไพรสดแล้วจุ่มลงในซอสเตือง ซึ่งประกอบด้วยตับ ซอสฮอยซิน และกระเทียม ส่วนผักสมุนไพรสดต่าง ๆ จะช่วยลดความมันในอาหารทอด ในอาหารกัมพูชาจะมีจานที่คล้ายบั๊ญแส่ว เรียกว่า "บัญจาว" (banh chao)

ขนมเบื้องไทย
เป็นขนมที่คนไทยรู้จักกันแพร่หลายมานานแล้ว ถือว่ามีอายุนานที่สุด จนมีคำพังเพยของไทยที่ว่า ละลเงขนมเบื้องด้วยปาก อันที่จริงแล้วเป็นขนมของอินเดีย แต่คาดคะเนว่าพวกพราหมณ์ในสมัยสุโขทัยได้นำเข้ามา ในภายหลังได้มีการดัดแปลงให้มีรสชาติถูกปากคนไทย ที่มาของขนมเบื้อง อาจเป็นเพราะใช้กระทะกระเบื้องทำ หรือ อาจเป็นเพราะแผ่เป็นแผ่นคล้ายกระเบื้อง




บรรณานุกรม
กระยาทิพย์  เรือนใจ.  ปั้นแต่งขนมไทย.  พิมครั้งที่1.  กรุงเทพมหานคร : ต้นธรรม. 2537.
"บั๊ญแซ่ว".  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก :       th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B9%8A%E0%B8%8D%E0%B9%81%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%A7.  (วันที่ค้นข้อมูล : 17 ตุลาคม 2559).



Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-ShareAlike 4.0 International License.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น